ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

        

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์

  ความหมายของความคิดสร้างสรรค์

  ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

ขั้นตอนการเกิดความคิดสร้างสรรค์

  การสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

การวัดความคิดสร้างสรรค์

หน้าหลักสืบค้น

 

        วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ประกอบด้วยเนื้อหา และกระบวนการหากนักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็จะเป็นผู้มีกระบวนการคิดเพื่อแสวงหาความรู้ ดังนั้นในการคิดสร้างสรรค์ จึงต้องอาศัยทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านสติปัญญาการแก้ปัญหา และการค้นพบความรู้ใหม่ ได้มีนักการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ให้ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้

 

          อนันต์ จันทร์กวี (2523 : 3-10) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ว่า เป็นความสามารถในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์สามารถค้นคว้าทดลอง และแสวงหาคำตอบหลายๆ วิธี ซึ่งคุณลักษณะอันนี้ได้จากการสังเกตพฤติกรรมตรวจรายงาน หรือโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือคะแนนจากแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

 

          ทัศนีย์ บุญเติม (2527 : 32) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ว่า หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการคิดและการกระทำในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวน
การทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์อันจะก่อให้เกิดผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม โดยเน้นถึงประโยชน์และคุณค่าต่อสังคมและส่งผลผลักดันให้โลกเจริญไปข้างหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป องค์ประกอบของกระบวนการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการคิดแบบอเนกนัยนั้น จำแนกได้ 4 ลักษณะตามแนวของกิลฟอร์ด คือ

          1. ความคิดคล่องทางวิทยาศาสตร์ (Fluency)
          2. ความคิดยืดหยุ่นทางวิทยาศาสตร์ (Flexibility)
          3. ความคิดริเริ่มทางวิทยาศาสตร์ (Originality)
          4. ความคิดละเอียดอ่อนทางวิทยาศาสตร์ (Elaboration)

 

          ประกิต นามโคตร (2530 : 56) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ว่า หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการตั้งสมมติฐาน และทักษะการทดลองมาใช้แก้ปัญหาในลักษณะหลายแนวทางต่อการเรียนรู้การแก้ปัญหา การค้นพบความรู้ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ การทดลองที่แปลกใหม่เกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติแล้วเผยแพร่ให้ผู้อื่นรู้ ตลอดจนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้ผลผลิตใหม่ทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่า และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

 

           Piltz and Sund (สุปรียา ลำเจียก. 2522 : 18 ; อ้างอิงมาจาก Piltz and Sund.n.d.) ให้ความหมายความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ไว้ว่า มีความหมายเช่นเดียวกับความคิดสร้างสรรค์แต่แตกต่างข้อปลีกย่อย คือ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการของความคิดและการกระทำของบุคคลในการเรียนรู้แก้ปัญหารวมทั้งค้นหาวิธี แก้ปัญหา โดยบุคคลนั้นต้องทราบถึงหลักการและกระบวน
การทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ผลผลิตของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์จะเน้นถึงผลผลิตที่มีคุณค่า ซึ่งมีส่วนผลักดันให้โลกเจริญไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งอีกด้วย

 

          ณัฎพงษ์ เจริญพิทย์ (2539 : 45) ได้กล่าวถึงความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ว่า เป็นความสามารถทางสมองของมนุษย์ที่จะทำให้เกิดการคิดแก้ปัญหาได้หลายแนวทาง และการแก้ปัญหานั้นจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยใช้กระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และทำตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จนสามารถทำให้ได้ผลผลิตที่แปลกใหม่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ โดยสรุปความหมายใกล้เคียง ความคิดสร้างสรรค์ในส่วนที่เป็นกระบวนการคิด และเป็นการกระทำที่ให้เกิดผลผลิตต่างๆ แต่จะมีลักษณะพิเศษตรงที่ว่า ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์อาศัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านสติปัญญา การแก้ปัญหา และการค้นหาความรู้ใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมี 3 องค์ประกอบ คือ ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม
จากความหมายของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ จะเห็นว่าสอดคล้องกับความหมายของวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวความรู้ (Body of Knowledge) และกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Process of Sciencetific Inquiry)

 

อ้างอิงจาก

กรมวิชาการ. (2544). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.